วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ABOUT ME



Hello! I'm Thidawan  Sawekwang. Everyone call me May. I was born on 17 August 1991.
Now I'm a student at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University.
( 5411114029 )
I live at  Khanom district, Nakhon Si Thammarat  province.
My e-mail addresses are  thidawan_17082534@hotmail.com  and  sawekwangmay@gmail.com


วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Studies on CALL in the Thai Context

 การเรียนโดยอาศัยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการเรียนภาษาในบริบทของไทยความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับเทคโนโลยีในปี  1980  โดยมีการสร้างทั้งสิ่งที่คาดหวังและสิ่งที่ต้องการไว้บนคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ ด้วยความหวังที่จะปรับปรุงความชำนาญ  ความคล่องแคล่วในการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยให้ดีขึ้น การเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาเหล่านี้ในสิ่งแวดล้อมของไทยนั้น มีความสอดคล้องกันโดยเน้นความสำคัญของ CALL และการสอนภาษาอังกฤษทั้ง 4 ทักษะ   ประโยชน์ของการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษา โดยเฉพาะมันช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่มีอิสรภาพ แต่อย่างไรก็ตาม มีบางปัญหาเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษาเกิดขึ้น เช่น เวลาที่ใช้ในการโหลดโปรแกรมจะเป็นปัญหาใหญ่สำหรับนักเรียน ในขณะที่อาจารย์ก็มองเห็นว่า การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษานั้น เป็นข้อเสียเปรียบที่สุดสำหรับพวกเขา
 

สรุปเกี่ยวกับ The Difficulties and Challenges of Teachers' Integrating Computer Assisted Instruction into Teaching

ประวัติโดยย่อของ CALL

1.Behaviorist CALL  เริ่มใช้สอนตั้งแต่ 1960 และ 1970  เป็นการเรียนการสอนแบบฝึกทำซ้ำๆเพื่อเป็นการกระตุ้นในการรับข้อมูล  ซึ่งตัวโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เป็นติวเตอร์  มีการพัฒนาเป็นระบบPLATO  เป็นโปรแกรมการสอนในคอม  PLATOทำงานด้วยฮาร์ดแวร์พิเศษซึ่งประกอบด้วยคำศัพท์  อธิบายหลักไวยากรณ์โดยย่อและแปลภาษา
           2.Communicative CALL  จะเน้นวิธีการสอนการสื่อสารเป็นสำคัญ  เริ่มต้นตั้งแต่ปี1970และช่วงต้น1980  communicative CALLช่วงแรกๆจะทำหน้าที่เป็นติวเตอร์  เพื่อให้นักเรียนมีตัวเลือก  ควบคุมและผสมผสานเข้าด้วยกัน  
         3.Integrative CALL  เป็นที่รู้จักในช่วง 1980 และช่วงต้น1990  เริ่มบูรณาการทักษะต่างๆไม่ว่าจะเป็นการฟัง  การพูด  การเขียน  และการอ่าน  เทคโนโลยีมีบทบาทในกระบวนการเรียนมายิ่งขึ้น  นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้จากสิ่งแวดล้อมต่างๆและสามารถสืบหาข้อมูลได้อย่างกว้างโดยผ่านเครือข่ายการสื่อสาร

สรุปเกี่ยวกับ Computer Assisted Learning : A Helpful Approach in Learning English

สรุปเกี่ยวกับ Computer  Assisted  Learning :  A  Helpful  Approach  in  Learning  English

การสำรวจถึงประโยชน์ของการใช้ CALL  ของผู้เรียนโดยการถาม 2 คำถาม นั่นคือ ระบบ CALL  ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ภาษาหรือไม่ และก่อให้เกิดผลอย่างไร  ซึ่งจากการสำรวจก็พบว่า 89.6 % ของนักเรียนบอกว่า CALL มีประโยชน์ด้านการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ  92.9%  เป็นประโยชน์ด้านการอ่าน  93.5%  คิดว่าระบบมีประโยชน์ในการเรียนรู้ทักษะการเขียนได้เป็นอย่างดี  82.4%  เชื่อว่าระบบ CALL  มีประโยชน์ในการฝึกการสนทนาแต่ในภาพรวมแล้วนั้น ระบบ CALL  ช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะด้านไวยากรณ์ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  



วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

CAI กับการเรียนรู้ของคนไทย


CAI มาจากคำว่า "Computer Aided Instruction" หรือบางแหล่งอาจจะใช้คำว่า "Computer Assisted Insturction" โดยมีการใช้คำในภาษาไทยว่า "สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน" เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยนำเอาสื่อคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการนำเสนอเนื้อหา เรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ซึ่งก็คือ สามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้
จริงๆ แล้วคำว่า "คอมพิวเตอร์ช่วยสอน" ไม่ได้มีความหมายที่ CAI แต่ยังรวมถึงคำอื่นๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ได้แก่
  • CBT Computer Based Training
  • CBE Computer Based Education
  • CAL Computer Aissisted Learning
  • CMI Computer Managed Instruction
  • IMMCAI Interactive Multimedia CAI

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

ประโยชน์ของโปรแกรม CAI

สรุปประโยชน์ของ CAI ได้ดังนี้
  • สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้
  • ดึงดูดความสนใจ โดยใช้เทคนิคการนำเสนอด้วยกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว แสง สี เสียง สวยงามและเหมือนจริง
  • ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และสามารถเข้าใจเนื้อหาได้เร็ว ด้วยวิธีที่ง่ายๆ
  • ผู้เรียนมีการโต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ และบทเรียนฯ มีโอกาสเลือก ตัดสินใจ และได้รับการเสริมแรงจากการได้รับข้อมูลย้อนกลับทันที
  • ช่วยให้ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้สูง เพราะมีโอกาสปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ซึ่งจะเรียนรู้ได้จากขั้นตอนที่ง่ายไปหายากตามลำดับ
  • ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความสนใจ และความสามารถของตนเอง บทเรียนมีความยืดหยุ่น สามารถเรียนซ้ำได้ตามที่ต้องการ
  • ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อคนเอง ต้องควบคุมการเรียนด้วยตนเอง มีการแก้ปัญหา และฝึกคิดอย่างมีเหตุผล
  • สร้างความพึงพอใจแก่ผู้เรียน เกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
  • สามารถรับรู้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้อย่างรวดเร็ว เป็นการท้าทายผู้เรียน และเสริมแรงให้อยากเรียนต่อ
  • ให้ครูมีเวลามากขึ้นที่จะช่วยเหลือผู้เรียนในการเสริมความรู้ หรือช่วยผู้เรียนคนอื่นที่เรียนก่อน
  • ประหยัดเวลา และงบประมาณในการจัดการเรียนการสอน โดยลดความจำเป็นที่จะต้องใช้ครูที่มีประสบการณ์สูง หรือเครื่องมือราคาแพง เครื่องมืออันตราย
  • ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนในเมือง และชนบท เพราะสามารถส่งบทเรียนฯ ไปยังโรงเรียนชนบทให้เรียนรู้ได้ด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

Whole Language Approach

  • เรียนภาษาในลักษณะของภาพรวม
  • เข้าใจเนื้อหาทั้งหมดก่อนที่จะมารู้คำศัพท์/ไวยากรณ์
  • ความผิดพลาดที่ผู้เรียนมีเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้